หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบในการจัดฉาก


การจัดวางองค์ประกอบ (Composition) หมายถึง การจัดวางตำแหน่งขององค์ประกอบฉาก ต้องยึดหลักของความสมดุลและมีเอกภาพ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ มุมและตำแหน่งของกล้อง ดังนั้นผู้ออกแบบฉากจำเป็นต้องทราบถึงแผนการถ่ายทำของรายการและการวาง มีความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบ ด้วยเช่นกัน ตำแหน่งกล้องทั้งหมดเพื่อที่จะได้วางแผนจัดองค์ประกอบของฉากให้สามารถใช้งาน ได้ดีเหมือนกันหมดทุกมุม

เส้น  Line หมายถึง รูปร่างโดยส่วนรวมของฉาก รวมไปถึงมิติและการมองเห็นได้ด้วยตา(Perspective)
ดังนั้นรูปร่างของฉากควรสร้างความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(Unity) อีก ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ของรายการได้ ซึ่งฉากที่มีการจัดเหมือนจริง ก็จะใช้เส้นหรือฉากที่มีรูปร่างธรรมดา มีมุมมองธรรมดาเพื่อให้เกิดความสมจริง เช่น ห้องก็จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ของที่อยู่ใกล้มักจะใหญ่กว่าของที่อยู่ไกลเป็นต้น
เส้นสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทคือ
1.
เส้นแนวนอน (Vertical Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงตามแนวนอน จะให้เกิดความรู้สึกถึงความกว้าง และเรียบ
2.
เส้นแนวตั้ง (Horizontal Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงแนวดิ่งหรือแนวตั้ง จะให้เกิดความรู้สึกถึงความสูงแลความลึก
3.
เส้นแนวเฉียง (Perspective Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทำมุมเป็นมุมเฉียง จะให้เกิดความรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ การย้ำเน้น และความลึก
4.
เส้นที่ไม่ใช่เส้นตรง (Cycle Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะโค้ง ไม่เป็นเส้นตรง จะให้เกิดความรู้สึกถึงความอ่อนไหว ความสับสน ความโลเล ความงุนงง และการเคลื่อนไหว

พื้นผิวTexture หมายถึง การสร้างลักษณะทางกายภาพของพื้นผิว เช่น ผิวเรียบ ผิวขรุขระ ผิวมันวาว เป็นต้น สามารถแบ่งได้ 2 วิธีคือ
1.
การสร้างพื้นผิวที่มีมิติขึ้นมาจริง
2.
การระบายสีหรือการวาดเพื่อให้ดูเหมือนพื้นผิวแบบต่างๆ

สี (Color) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการออกแบบ เพราะสีจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความลึก มีมิติ สร้าง
ความ สมจริง ให้อารมณ์ และสร้างจุดเด่นให้กับฉาก ดังนั้นควรเลือกใช้สีในฉากต่างๆควรมีการกำหนดและใช้อย่างถูกต้องเพื่อ ประสิทธิภาพของงาน
ข้อควรระวังในการใช้สีเพื่อการออกแบบ
1.
ไม่ควรใช้สีขาวจัด หรือดำสนิท เพราะกล้องไม่สามารถทำงานกับความสว่างที่สูงมากๆหรือต่ำมากๆได้
2.
ไม่ ควรใช้สีอ่อนเกินไป เช่น ฟ้าอ่อน เหลืองอ่อน ชมพูอ่อน หรือการใช้สีที่เข้มเกินไปเช่น แดงเข้ม น้ำเงินเข้ม หรือน้ำตาลเข้ม เพราะสีที่อ่อนเกินไปเมื่อโดนแสงจะถูกดูดกลืนไปกับสีขาว ส่วนสีที่เข้มมากๆจะถูกดูดกลืนจากสีดำ
3.
ไม่ควรใช้สีสะท้อน เพราะทำให้การวัดแสงของกล้องวัดแสงอัตโนมัติไปที่สีสะท้อนตรงนั้น
4.
ควร ระวังเรื่องแสงสะท้อน เช่นถ้าโต๊ะเป็นสีเขียวหรือสีขาว เมื่อโดนแสงอาจสะท้อนโดนหน้านักแสดง หรือวัตถุอื่นๆในฉากให้เกิดการเปลี่ยนสีได้ ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องแสงสะท้อน ทางที่ดีควรใช้สีเป็นสีขาวหม่นหรือสีเทา
CHAPTER 7...EDITING
การตัดต่อ (Editing)
Electronic
- Control track Editing
- Automatic Time code Editing
- Computerize Time code Editing
หลักพื้นฐาน
- Continuity
- Complexity
- Ethic
  • Voice
- Voice over ( voice overlap )
- Voice off scene
  • Sequence - การลำดับ Sequence ตามความเหมาะสมของขนาดภาพ
- สูตร Picture Sequence
- Direction & Meaning
  • Position of shot
- Dynamic Cutting
- Narrative Cutting
- Montage Cutting
- Cross Cutting
- Parallel Cutting

ฉาก (Scenery)

หน้าที่หลักสำคัญของฉาก (Scenery)
หมายถึง เป็นสถานที่ที่เป็นสิ่งแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อม สำหรับตัวละครและเป็นที่สำหรับการแสดงสถานที่นี้ได้รับการออกแบบเพื่อที่จะ เน้นการกระทำและความขัดแย้งของตัวละคร ฉาก(Setting)จะ ต้องบอกให้ทราบถึงสถานที่ในละครในเวลาใดเวลาหนึ่งที่แน่นอน เช่น กลางวัน กลางคืน ปีศักราชใด ยุคสมัยใดในประวัติศาสตร์ หรือฤดูกาลของปีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านกาลเวลาในฉากต่างๆ ต้องทำให้แลเห็นสภาพแวดล้อมของตัวละครอย่างเด่นชัด ต้องสามารถทำให้ทราบได้ว่าด้านนอก (Exterior)หรือด้านใน (Interior) ของสถานที่ และอยู่ในเมือง หรือนอกเมือง เป็นของจริง หรือจินตนาการ หรือเป็นความฝัน
Katharine Anne Ommanney และ Harry H. Schanker เจ้าของหนังสือ The Stage and the School กล่าว ไว้ว่า ฉากควรจะสามารถบอกผู้ชมได้ถึงบุคลิกลักษณะของตัวละคร สภาพแวดล้อมของตัวละคร ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อชะตาชีวิต หรือวิถีชีวิตของตัวละคร และผลกระทบนั้นเป็นอย่างไร ในทางกลับกันบุคลิกภาพของตัวละครมีผลลัพท์ต่อสภาพแวดล้อมของตัวละครอย่างไร เราสามารถสังเกตได้ว่า ความเกียจคร้าน ความมีคุณค่า ความหมาย ความรัก ความทนุทนอม ความผิดปรกติ ความขลังและอื่นๆของบุคคล จะสะท้อนให้เห็นได้ในบ้านที่อยู่อาศัยของตัวละคร และที่เครื่องประดับตกแต่งของห้องของผู้เป็นเจ้าของอย่างเด่นชัด

คุณสมบัติของฉาก
-
เปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน หรือคนหนึ่งกับที่อยู่อาศัย
-
สามารถเผยตำแหน่งหน้าที่การงาน สถานที่ทำงาน อำนาจและตำแหน่งในครอบครัว
-
ช่วยให้ผู้ชมสามารถมองรวมจุดหลัก บุคลิกลักษณะตัวละคร องค์ประกอบทางสัญลักษณ์ต่างๆ หรือรวมความสนใจบนเวที
-
การจัดตำแหน่งตัวละครให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (triangular blocking) สามารถครอบนักแสดงให้อยู่ในกรอบที่จัดว่าเป็นการเน้นให้เด่นชัด
-
สามารถสร้างสรรค์บรรยากาศและอารมณ์ อันก่อให้เกิดปฏิกริยาโต้ตอบของผู้ชมต่อตัวละตรและบทละครสามารถเกิดขึ้นได้จากการสื่อนำด้วยฉาก
-
ต้องสร้างขึ้นจากความต้องการและความตั้งใจของผู้เขียนบทละครและจากการตีความหมายของผู้กำกับการแสดง
-
ต้องเอื้ออำนวยต่อนักแสดงและการแสดง ไม่ครอบงำหรือข่มตัวละครให้ด้อยลง ไม่ข่มเสื้อผ้าที่นักแสดงสวมใส่อยู่
-
ฉากต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการวางตำแหน่งตัวละครบนเวที และไม่ควรหักเหความสนใจของผู้ชมไปจากการกระทำของตัวละคร
-
ต้องช่วยเสริมเนื้อหาของเหตุการณ์ในละคร ไม่ควรปิดบัง เนื้อหาของเหตุการณ์
-
ควรเรียบง่าย (Simplicity) อันได้แก่ ความเรียบง่ายในการออกแบบ ความเรียบง่ายในโครงสร้าง และความเรียบง่ายในการเปลี่ยนฉากและเคลื่อนไหวฉาก
-
การสร้างฉากควรยึดหลัก ‘’ ใช้น้อยชิ้นที่สุดให้ทราบเรื่องราวมากที่สุด ” (Use the least to say the most )

รูปแบบฉาก (Form or types of stage setting)
รูปแบบฉาก หมายถึงลักษณะโครงสร้างด้านหน้าของฉาก ซึ่งประกอบกันเข้าหลายๆส่วน เพื่อสร้างสถานที่แวดล้อม (Local) ให้ แก่ตัวละคร และเป็นแบ๊กกราวน์ดเบื้องหลังให้แก่ตัวละครบนเวที ลักษณะโครงสร้างด้านหน้านี้เป็นแนวทางในการออกแบบฉากและการสร้างฉาก และมีส่วนสัมพันธ์กับสไตล์การแสดง แต่ละสไตล์ด้วยการเคลื่อนไหวของนักแสดง และสถานการณ์ต่างๆ ของเรื่องมีความผูกพันกับรูปแบบฉากโดยตรง
ฉากแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

1.
ฉากภายใน (Interior) คือ ฉากที่แสดงว่าเป็นสถานที่ภายในของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ประกอบด้วยกำแพงอย่างน้อย 1ด้าน หรือ มีเครื่องประดับการแสดง และเวทีเป็นสื่อความหมาย ตัวอย่างเช่น ของฉากภายใน ได้แก่ ในบ้าน ในสำนักงาน ในเครื่องบิน ในรถยนต์ บนเรือ เป็นต้น

2. ฉากภายนอก (Exterior) คือ ฉากที่แสดงสถานที่ที่เป็นภายนอกของอาคารที่อยู่อาศัย ได้แก่ ในสวน ชายคาบ้าน
รั้ว บ้าน ในป่า บนเขา หรือส่วนใดก็ได้ที่สามารถแลเห็นท้องฟ้าหรือแลเห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อย่างเด่นชัด อาจจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสื่อความหมายก็ได้ เช่น เสาไฟฟ้า ม้านั่งในสวน ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น

อุปกรณ์ฉาก (SET) ฉาก ประกอบขึ้นจากวัสดุหลายชนิด เช่น ผ้า ไม้ โลหะ กระดาษ ปูน ฯลฯ ส่วนมากจะสร้างสำเร็จรูปเป็นชิ้นๆแล้วนำเข้ามาประกอบกันเป็นรูปร่างในห้อง ส่ง เมื่อใช้แสดงเสร็จก็สามารถถอดออกเก็บเป็นชิ้นๆได้อย่างเดิม เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างจะมาในรูปแบบของประตู หน้าต่าง ฝาผนัง เสา บันได พื้นยกระดับ กำแพง ฯลฯ ถ้าเป็นธรรมชาติจะมาในรูปแบบของ ต้นไม้ขนาดต่างๆ ก้อนหิน หญ้า ชิ้นส่วนต่างๆดังกล่าวจะใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทำเทียมขึ้นเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือการเก็บ ซึ่งโดยมาจะใช้วัสดุที่เป็นไม้ ผ้าและโฟมในการทำ
อุปกรณ์ประกอบฉาก (PROPERTIES / Prop)
 
    อุปกรณ์ ประกอบฉากเป็นส่วนที่ช่วยให้ฉากมีบรรยากาศสมจริงมากยิ่งขึ้น ถ้าฉากเป็นตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบฉากจะมาในรูปของเฟอร์นิเจอร์ อันได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ของใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์หรือสถานีโทรทัศน์ โดยทั่วไปประสบปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ฉากเป็นอันมาก บางประเภทมีราคาแพง ชำรุดง่าย หรือมีน้ำหนักเบาเกินไป จึงจำเป็นต้องสร้างเทียมขึ้น แต่มีความคงทนและน้ำหนักเบา เช่น ใช้ยาง พลาสติก หรือโฟม บางชนิดไม่คุ้มค่า และเป็นภาระต่อการมีไว้ก็สามารถใช้วิธีเช่าหรือยืม

ฉากหลัง
ฉากหลังหรือแบคกราวด์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเสริมบรรยากาสและช่วยให้เกิดความลึกขึ้นในฉากให้ มากกว่าความเป็นตริง แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
1.
ภาพเขียน เป็นภาพที่เขียนขึ้นจากแผ่นผ้าขึงบนกรอบไม้
2.
ภาพถ่าย เป็นภาพที่ผ่านวิธีการอัดรูปให้ลงบนกระดาษ และนำไปติดรวมกันบนแผ่นไม้
3.
การฉายภาพด้านหลังจอ เป็น การฉายภาพนิ่ง หรือภาพยนตร์ที่ฉากหลังของผู้แสดง ฉากหลังประเภทนี้เป็นแบบที่ให้บรรยากาศมากที่สุด เพราะเป็นแบคกราวด์ที่มีความเคลื่อนไหวได้
4.
สร้างขึ้นจริงเป็นการสร้างฉากขึ้นจริงๆ ถ้าไม่มีผู้แสดงเข้าไปเกี่ยวข้องจะสร้างโดยการย่อส่วนให้เล็กลงไปตามลำดับทำให้เกิดความลึก
5.
ไซโคลราม่า (ฉากที่ไม่กำหนดระยะ) เป็นฉากผนังเกลี้ยง ลมมุมด้วยความโค้ง ทำให้กำหนดความลึกได้ยาก แบคกราวด์ประเภทนี้มักจะใช้ร่วมกับแบคกราวดืประเภทสร้างขึ้นจริงกับประเภท ภาพถ่าย

การวางฉาก แบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ
1.
ฉากแบน ในกรณีที่มีผู้แสดงน้อยคนนั่งกับที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น รายการสัมภาษณ์ รายการข่าว
หรือประกาสรายการสถานี
2.
ฉากรูปตัวแอล ในกรณีที่มีผู้แสดงน้อย แต่มีการเคลื่อนไหว
3.
ฉากรูปตัวยู โดยมากมักจะเป็นฉากใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหวมาก
4.
ฉากปิด มีผนังทั้ง 4ด้าน ผนังบางด้านติดอยู่กับล้อเลื่อน เพื่อเปิดออกบางครั้งเพื่อความสะดวกในการถ่ายทำ

หลักในการจัดฉาก ต้องการให้เกิดความลึกขึ้นในภาพ จะต้องวางวัสดุที่ทำให้เกิดระยะที่แตกต่างกันไปจนถึงฉากหลัง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1.
การจัดให้มี โฟกราวด์ ผู้แสดง และแบคกราวด์
2.
โดยการสร้างฉาก ให้เกิดการลวงตาว่าเป็นระยะไกล โดยสร้างขนาดของแบคกราวด์ให้เล็กลง
3.
เพิ่มความละเอียดของ โฟกราวด์ และลดความชัดของ แบคกราวด์ (โดยการกำหนดค่าของเลนส์กล้อง)
4.
ให้แสงสว่างเป็นห้องๆ ไปจนถึงฉากหลัง

ชนิดของฉาก แบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
1.
แบบธรรมดา หรือแบบพื้นฐาน (Neutral) เป็นการออกแบบฉากที่ง่ายที่สุด โดยการให้ฉากหลังเป็นพื้นสีธรรมดา ในกรณีฉากหลังเป็นพื้นสีดำ เรียกว่า คามิโอ (Cameo)” ซึ่ง ในการจัดฉากแบบนี้ควรระวังในเรื่องของการจัดแสง เพราะต้องระวังไม่ให้แสงที่ใช้ส่องนักแสดงไปกระทบฉากหลัง ดังนั้นควรให้นักแสดงอยู่ห่างจากฉากหลัง หรือนำผ้าม่านสีดำมาใช้แทนเพราะสามารถช่วยลดแสงสะท้อนได้ไฟที่นำมาใช้จัดฉาก ประเภทนี้ควรเป็นไฟสปอต์ไลท์ อย่างเดียว เพราะสามารถควบคุมทิศทางและการกระจายของแสงได้ดีที่สุด ส่วนการใช้ฉากหลังเป็นพื้นสีอื่นๆ เช่นสีแดง สีม่วง สีเขียว สีฟ้า ฯลฯ เราเรียกว่าลิมโบ้ (Limbo)” และไฟที่นำมาใช้ควรเป็นไฟประเภท ฟลัดไลท์ (Floodlights) เพราะ เป็นไฟที่ให้แสงกระจายอย่างสม่ำเสมอ ข้อเสียของฉากประเภทนี้คือแบนราบ ไม่มีมิติ ดังนั้นอาจมีการใส่โลโก้เพื่อเมความสนใจ ให้ผู้ชมได้
2. เหมือนจริง (Realistic) การ จัดฉากที่มีลักษณะการจัดเพื่อที่จะให้ดูสมจริงสมจังมากที่สุด อาจจะนำอุปกรณ์ประกอบฉากที่เป็นของจริงหรือของที่ทำขึ้นมาใช้แทนในการจัดฉาก ควรคำนึงถึงความเป็นจริงของสถานที่ๆนำมาจัดให้มากที่สุด

3.
ไม่เหมือนจริง (Abstract)  เป็น การจัดฉากที่ไม่ได้คำนึงถึงความสมจริงของฉาก มีลักษณะของฉากเป็นนามธรรม เพื่อถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ของฉากนั้นๆออกมา หรือมีลักษณะ เหนือจริง (Surrealistic) หรือ เป็นแบบเพ้อฝัน (Fantasy) ดัง นั้นในการจัดฉากประเภทนี้ควรคำนึงถึงรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ประกอบฉากมาก เป็นพิเศษ ทั้งนี้ในการจัดฉากประเภทนี้ควรต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของรายการงบประมาณ และแนวคิดของผู้จัดเพื่อให้เกิดความสอดคล้องของฉากต่อเรื่องราวที่นำเสนอ

วัสดุของฉาก
1. แฟลต (Flat) คือ อุปกรณ์ประกอบฉากที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมแบนๆขนาด 4 คูณ 10 ฟุต ที่สามารถนำมาประกอบกันเข้าเป็นฝาผนังหรือเป็นห้องได้ แฟลตสามารถทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นไม้อัด กระป๋อง กระดาษหรือผ้าใบก็ได้ แต่ส่วนมากจะใช้ไม่อัดเพราะมีความทนทาน ราคาไม่แพง
2. ไซโครามา (Cyclorama) คือ วัสดุประกบฉากที่มีลักษณะเป็นผ้าหรือวัสดุอื่นที่ไม่มีรอยต่อขึงตึงลงมาจากเพดานถึงพื้นของสตูดิโอ มีลักษณะการขึงฉากเป็นรูปตัว U คว่ำ ปกติจะมีสีเทาหรือสีขาวหม่นๆ และจะมีลักษณะของสีที่ใกล้เคียงพื้นของสตูดิโอ ด้านล่างของฉากจะมีไฟที่เรียกว่า กราวด์ โรว์ (Ground row) ติดไว้เพื่อส่องฉากให้ดูกลมกลืนกับพื้นสตูดิโอด้วย
ใน การใช้ฉากแบบนี้สามารถ ช่วยให้การรับรู้ถึงความลึกของฉาก หรือมีความรู้สึกว่าสามารถมองภาพออกไปได้ไกลไม่มีที่สิ้นสุด อีกทั้งยังสามารถนำไฟสีมาส่อง ให้เกิดภาพหรือรูปทรงต่างๆได้อีกด้วย
3. วัสดุฉากสำเร็จ (Set Pieces) คือ การสร้างฉากที่มีรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นฝาผนัง เสา ประตู หน้าต่าง หรือบันได ฯลฯ เพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณ หรือวัสดุที่เรียกว่า ยกพื้น(Riser)” เป็นวัสดุฉากที่ยกสูงจากพื้นขึ้นจากพื้นของสตูดิโอ จะมีลักษณะ สี่เหลี่ยม วงกมล เป็นต้น
4. วัสดุฉากประเภทแขวน (Hanging Unit) คือ วัสดุประกอบฉากประเภทแขวน เช่น ม่าน มู่ลี่ โคมไฟ ฉากกระดาษ มาตกแต่งเพื่อความสวยงามหรือฉาก และผนังที่ถูกแขวนไว้เหนือสตูดิโอ ในกรณีที่ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนฉาก เพียงแค่ดึงฉากลงมาที่พื้นสตูดิโอ ก็สามารถใช้เป็นฉากประกอบได้ แถมยังทำให้ประหยัดเวลา และงบประมาณ
5. วัสดุประกอบฉาก (Properties) คือ วัสดุทุกชนิดที่นำมาประกอบภายในฉาก ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ โตีะ เตียง ตะเกียง รูปภาพ หนังสือ ม่านหน้าต่าง จาน ชาม อาหาร แก้วน้ำ ฯลฯ

วัสดุประกอบฉากสามารถแบ่งออก ได้ 2 ประเภทคือ
5.1 Set Prop
คือ วัสดุอะไรก็ตามที่นำมาตกแต่งเพื่อเพิ่มรายละเอียด บรรยากาศ หรือทำให้ฉากนั้นสวยงามขึ้นอีกทั้งยังสามารถใช้ในฉากนั้นได้ เช่น หนังสือ แจกัน โทรทัศน์ วิทยุ รูปภาพ โต๊ะ ชั้นวางของเป็นต้น
5.2 Hand Prop
คือ วัสดุประกอบฉากที่ให้นักแสดงถือหรือจับในฉาก เช่น หนังสือ มีด ปืน อาหาร เครื่องดื่ม หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

การเขียนบทโทรทัศน์ (Script for Television)


ประเภทของบทโทรทัศน์
1. บทโทรทัศน์แบบสมบูรณ์ (The fully scripted show)
บทโทรทัศน์ประเภทนี้จะบอกคำพูดทุกคำพูดที่ผู้พูดจะพูดในรายการตั่งแต่ต้นจนจบ พร้อมกำหนด
รายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งของภาพและเสียงไว้อย่างสมบูรณ์
รายการที่ใช้บทประเภทนี้ คือ รายการตลก รายการข่าว รายการสารคดี เป็นต้น
ประโยชน์ของการเขียนบทประเภทนี้ คือ เราสามารถมองภาพของรายการได้ตั่งแต่ต้นจนจบก่อนที่จะมี
การซักซ้อม
ข้อเสีย คือ ต้องปฏิบัติตามบทอย่างเคร่งครัด ถ้าเกิดมีการลืมบทอาจจะเกิดความเสียหายได้

2. บทโทรทัศน์กึ่งสมบูรณ์ (The Semi scripted show )
บท โทรทัศน์ประเภทนี้จะมีการกำหนดคำสั่งทางภาพและเสียงเอาไว้โดยละเอียด เพียงแต่การกำหนดคำพูด คำบรรยาย หรือบทสนทนานั้นจะไม่ได้ระบุทุกตัวอักษร บอกเพียงแต่หัวข้อเรื่องหรือเสียงที่จะพูดโดยทั่วไปเท่านั้น
รายการที่ใช้บทประเภทนี้ คือ รายการปกิณกะ และรายการประเภทที่ผู้พุด ผู้สนทนา หรือมีผู้บรรยายพูดเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีในบท
สิ่งสำคัญของบทนี้ คือ ต้องระบุคำสุดท้ายในประโยคของผู้พูดเอาไว้เสมอ เพื่อเป็นสัญญาณบอกผู้กำกับรายการ สามารถตัดเข้าสู่โฆษณาได้

3. บทโทรทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (The show format)
บทโทรทัศน์ประเภทนี้ เขียนเพียงคำสั่งของส่วนต่างๆที่สำคัญในรายการฉากที่สำคัญๆ ลำดับ
รายการที่สำคัญๆ บอกเพียงเวลาของรายการแต่ละตอน เวลาดำเนินรายการ


4. บทโทรทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ (fact sheet)
บทโทรทัศน์ประเภทนี้จะแสดงเพียงเค้าโครงของรายการในลักษณะร่างลำดับของรายการตั่งแต่
เริ่มรายการจนจบรายการ ที่มีการกำหนดช่วงเวลาของเนื้อหาในช่วงต่างๆในรายการ
บท ประเภทนี้เหมาะสำหรับรายการที่ไม่สามารถกำหนดรายละเอียดทุกคำพูดหรือเสียง ไว้ล่วงหน้าได้ จึงมีเพียงโครงร่างของรายการไว้ มักใช้กับ รายการสารคดี รายการนิตยสาร รายการสนทนา
รายการสัมภาษณ์ เป็นต้น
ข้อดีของบทประเภทนี้ คือ ดูง่าย สามารถเข้าใจรายละเอียดของรายการได้ทันที ว่าเป็นรายการอะไร รูปแบบใด และต้องเตรียมอะไรในรายการบ้าง