ตัวอย่าง การถ่ายทำแบบ Multi – camera โดยถ่ายผ่านแม่ข่ายในการแข่งขันกีฬา
2. Single camera
การ ถ่ายทำโดยใช้กล้องตัวเดียว เป็นการถ่ายทำที่มีความคล่องตัวสูง อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณ ทั้งค่าอุปกรณ์ และค่าบุคลากรในการผลิตอีกด้วย โดยมากบุคลากรที่ใช้ในการผลิตรายการแบบนี้ จะใช้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่จำเป็นจริง ๆ ซึ่งส่วนมากก็จะมีเพียง Camera Operator Videotape Recorder และ Sound Engineer เท่านั้น แต่ถ้าต้องการงานที่ละเอียดประณีต อาจจะต้องเพิ่ม Program Director ด้วยก็ได้ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตรายการลักษณะนี้ ก็มีเพียง กล้องโทรทัศน์ 1 กล้อง เครื่องบันทึกเทป จำนวน 1 เครื่อง และอุปกรณ์ทางเสียง 1 ชุดเท่านั้น
ลักษณะ การผลิตรายการแบบใช้กล้องเดียวนี้ จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง เช่น รายการรายงานข่าวจากสถานที่จริง รายการสารคดี ฯลฯ ซึ่งรายการเหล่านี้ไม่ได้มุ่งเน้นให้เป็นรายการแบบผลสำเร็จ เหมือนการถ่านทำแบบ Multi – camera แต่มุ่งเน้นการตัดต่อให้เป็นเรื่องราว ในขั้นหลังการผลิต (Post production) และ เน้นในเรื่องของความหลากหลาย และความเป็นจริงนอกสถานที่ (Location) จึงเหมาะกับรายการที่ไม่ใช่การถ่ายทอดสด หรือรายการที่มุ่งเน้นเทคนิค และผลพิเศษทางภาพ (Special effect) ในการตัดต่อ เช่น รายการละครโทรทัศน์ เป็นต้น
การเตรียมตัว และการถ่ายทำมีข้อปลีกย่อยที่ต้องคำนึง คือ บท (Script) ซึ่งต้องมีการทำ Break down Script หรือ Shot list และการจดบันทึก Shooting report หรือบางทีเรียก Shot sheet
Breakdown Script หรือ Shot list คือ บทลำดับการถ่ายทำโดยเรียงลำดับ Shot การ ถ่าย ทำตามความจำเป็น และความเหมาะสม เช่น ฉาก หรือสถานที่เดียวกัน ก็ควรที่จะลำดับการถ่ายทำไว้ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้ถ่ายทำให้เสร็จสิ้นเป็นฉาก ๆ ไปโดยไม่ได้คำนึงว่าตอนนั้น ๆ หรือ Shot นั้น ๆ จะอยู่ตอนใดของบทแบบสมบูรณ์ (Fully-script show) Breakdown script จะต้องมีข้อมูลที่จำเป็นของแต่ละ Shot ครบถ้วน เช่น บทพูด ตัวแสดง ฉาก มุมกล้อง เป็นต้น แต่ Shot list คือ ลำดับการถ่ายทำที่มักนิยมเขียนเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น สำหรับผู้กำกับรายการ และตากล้องเท่านั้น เช่น ขนาดภาพ วัตถุ หรืออากัปกริยาของตัวแสดง ฯลฯ
การ ถ่ายทำโดยใช้กล้องตัวเดียว เป็นการถ่ายทำที่มีความคล่องตัวสูง อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณ ทั้งค่าอุปกรณ์ และค่าบุคลากรในการผลิตอีกด้วย โดยมากบุคลากรที่ใช้ในการผลิตรายการแบบนี้ จะใช้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่จำเป็นจริง ๆ ซึ่งส่วนมากก็จะมีเพียง Camera Operator Videotape Recorder และ Sound Engineer เท่านั้น แต่ถ้าต้องการงานที่ละเอียดประณีต อาจจะต้องเพิ่ม Program Director ด้วยก็ได้ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตรายการลักษณะนี้ ก็มีเพียง กล้องโทรทัศน์ 1 กล้อง เครื่องบันทึกเทป จำนวน 1 เครื่อง และอุปกรณ์ทางเสียง 1 ชุดเท่านั้น
ลักษณะ การผลิตรายการแบบใช้กล้องเดียวนี้ จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง เช่น รายการรายงานข่าวจากสถานที่จริง รายการสารคดี ฯลฯ ซึ่งรายการเหล่านี้ไม่ได้มุ่งเน้นให้เป็นรายการแบบผลสำเร็จ เหมือนการถ่านทำแบบ Multi – camera แต่มุ่งเน้นการตัดต่อให้เป็นเรื่องราว ในขั้นหลังการผลิต (Post production) และ เน้นในเรื่องของความหลากหลาย และความเป็นจริงนอกสถานที่ (Location) จึงเหมาะกับรายการที่ไม่ใช่การถ่ายทอดสด หรือรายการที่มุ่งเน้นเทคนิค และผลพิเศษทางภาพ (Special effect) ในการตัดต่อ เช่น รายการละครโทรทัศน์ เป็นต้น
การเตรียมตัว และการถ่ายทำมีข้อปลีกย่อยที่ต้องคำนึง คือ บท (Script) ซึ่งต้องมีการทำ Break down Script หรือ Shot list และการจดบันทึก Shooting report หรือบางทีเรียก Shot sheet
Breakdown Script หรือ Shot list คือ บทลำดับการถ่ายทำโดยเรียงลำดับ Shot การ ถ่าย ทำตามความจำเป็น และความเหมาะสม เช่น ฉาก หรือสถานที่เดียวกัน ก็ควรที่จะลำดับการถ่ายทำไว้ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้ถ่ายทำให้เสร็จสิ้นเป็นฉาก ๆ ไปโดยไม่ได้คำนึงว่าตอนนั้น ๆ หรือ Shot นั้น ๆ จะอยู่ตอนใดของบทแบบสมบูรณ์ (Fully-script show) Breakdown script จะต้องมีข้อมูลที่จำเป็นของแต่ละ Shot ครบถ้วน เช่น บทพูด ตัวแสดง ฉาก มุมกล้อง เป็นต้น แต่ Shot list คือ ลำดับการถ่ายทำที่มักนิยมเขียนเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น สำหรับผู้กำกับรายการ และตากล้องเท่านั้น เช่น ขนาดภาพ วัตถุ หรืออากัปกริยาของตัวแสดง ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น