จุดมุ่งหมายในการจัดแสงสำหรับโทรทัศน์
1. เพื่อให้กล้องโทรทัศน์ รับภาพได้อย่างสมจริงเป็นธรรมชาติมากที่สุด
2. เพื่อสร้างอารมณ์ให้กับภาพ ซึ่งเป็นไปตามที่บทโทรทัศน์ต้องการ
3. เพื่อให้ความเป็นรูปทรงที่แท้จริงของบุคคลและวัตถุนั้นๆ ช่วยให้ภาพมีมิติ คือมีความลึก ความตื้น หนา บาง ในภาพ
1. เพื่อให้กล้องโทรทัศน์ รับภาพได้อย่างสมจริงเป็นธรรมชาติมากที่สุด
2. เพื่อสร้างอารมณ์ให้กับภาพ ซึ่งเป็นไปตามที่บทโทรทัศน์ต้องการ
3. เพื่อให้ความเป็นรูปทรงที่แท้จริงของบุคคลและวัตถุนั้นๆ ช่วยให้ภาพมีมิติ คือมีความลึก ความตื้น หนา บาง ในภาพ
ความสำคัญในการจัดแสง
1. เพื่อให้แสงที่เพียงพอและเหมาะสม ซึ่งกล้องแต่ละประเภทในการใช้งานนั้น มีความต้องการปริมาณแสงที่ไม่เท่ากัน โดยบางชนิดสามารถ่ายทำในสถานที่ที่มีแสงน้อยได้ บางชนิดต้องใช้แสงที่สว่างมาก ดังนั้นการจัดแสงที่เพียงพอก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะในแต่ละชนิดชนิดกล้องด้วยเหมือนกัน
2. การใช้แสงเพื่อลบเงา ไม่ว่าจะถ่ายทำทั้งในและนอกสตูดิโอก็ตาม ยิ่งแสงมีความเข้มเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เกิดเงาปรากฏชัดเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นยิ่ง ต้องมีการจัดแสงเพื่อให้เงาหายหรือจางไป
3. การจัดแสงเพื่อให้ได้สีที่ถูกต้องและสวยงาม กล้องที่เราใช้งานนั้น จะมีการแยกสีที่ไม่เหมือนตามนุษย์ ดังนั้นแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันออกไป ย่อมมีความถี่ที่ไม่เท่ากันทำ ให้ผลในการรับสีแตกต่างกันด้วย เช่นแสงที่ได้จากหลอดประเภทไส้หรือหลอดทังสเตนจะมีแสงสีแดง แสงที่ได้จากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะออกสีเหลือง แสงที่ได้จากดวงอาทิตย์ตอนกำลังขึ้น หรือจะตกดินจะให้สีชมพู และแสงที่ได้จากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันจะออกสีฟ้า เป็นต้น ดังนั้นเราจึงต้องมีการใช้การจัดแสงเข้าร่วม
4. การจัดแสงเพื่อให้เกิดรูปทรงและมิติ เนื่องจากจอโทรทัศน์มีเพียง 2มิติ คือในทางกว้างและทางสูง นั่นคือการสร้างภาพให้เกิดเป็นรูปทรงขึ้นมา แต่ก็ยังขาดในเรื่องของความลึกและระยะใกล้ไกล ดังนั้นเราจึงสามารถใช้เทคนิคการจัดแสงแบบ 3 เหลี่ยม เข้ามาให้เกิดรูปทรงและมิติของวัตถุได้
5. การใช้แสงเพื่อเป็นการบอกเวลาและสถานที่ การจัดแสงสามารถบอกให้ทราบถึงเวลาที่เกิดขึ้นในฉากนั้นๆได้ เช่นกลางวัน กลางคืน โดยการใช้ความแตกต่างในเรื่องความสว่างความมืดของแสง
6. การจัดแสงเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ การ จัดแสงสามารถสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น การใช้แสงที่ต่ำกว่าระดับสายตาของผู้แสดง ก็ยังสามารถสร้างอารมณ์ตื่นเต้น น่ากลัวได้เป็นต้น แต่การสร้างให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามจึงต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆเข้าช่วย เช่น เสียงดนตรี คำพูด และใบหน้านักแสดง
7. การจัดแสงเพื่อให้เกิดความสนใจเฉพาะจุด ใน การแสดงละครหรือการแสดงต่างๆนั้น อาจมีเวทีที่กว้างแต่ในช่วงเวลาหนึ่งของการแสดงเราอาจต้องการให้ผู้ชมสนใจ ณ ที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นจุดสำคัญของเรื่องหรือเป็นการแสดงของนักแสดงเด่น เราอาจจะใช้วิธีจัดแสง โดยให้มีแสงสว่างมากเฉพาะจุด หรืออาจจะใช้ไฟ ฟอลโลว์สปอตไลท์ส่องตามผู้แสดงก็ได้
1. เพื่อให้แสงที่เพียงพอและเหมาะสม ซึ่งกล้องแต่ละประเภทในการใช้งานนั้น มีความต้องการปริมาณแสงที่ไม่เท่ากัน โดยบางชนิดสามารถ่ายทำในสถานที่ที่มีแสงน้อยได้ บางชนิดต้องใช้แสงที่สว่างมาก ดังนั้นการจัดแสงที่เพียงพอก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะในแต่ละชนิดชนิดกล้องด้วยเหมือนกัน
2. การใช้แสงเพื่อลบเงา ไม่ว่าจะถ่ายทำทั้งในและนอกสตูดิโอก็ตาม ยิ่งแสงมีความเข้มเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เกิดเงาปรากฏชัดเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นยิ่ง ต้องมีการจัดแสงเพื่อให้เงาหายหรือจางไป
3. การจัดแสงเพื่อให้ได้สีที่ถูกต้องและสวยงาม กล้องที่เราใช้งานนั้น จะมีการแยกสีที่ไม่เหมือนตามนุษย์ ดังนั้นแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันออกไป ย่อมมีความถี่ที่ไม่เท่ากันทำ ให้ผลในการรับสีแตกต่างกันด้วย เช่นแสงที่ได้จากหลอดประเภทไส้หรือหลอดทังสเตนจะมีแสงสีแดง แสงที่ได้จากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะออกสีเหลือง แสงที่ได้จากดวงอาทิตย์ตอนกำลังขึ้น หรือจะตกดินจะให้สีชมพู และแสงที่ได้จากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันจะออกสีฟ้า เป็นต้น ดังนั้นเราจึงต้องมีการใช้การจัดแสงเข้าร่วม
4. การจัดแสงเพื่อให้เกิดรูปทรงและมิติ เนื่องจากจอโทรทัศน์มีเพียง 2มิติ คือในทางกว้างและทางสูง นั่นคือการสร้างภาพให้เกิดเป็นรูปทรงขึ้นมา แต่ก็ยังขาดในเรื่องของความลึกและระยะใกล้ไกล ดังนั้นเราจึงสามารถใช้เทคนิคการจัดแสงแบบ 3 เหลี่ยม เข้ามาให้เกิดรูปทรงและมิติของวัตถุได้
5. การใช้แสงเพื่อเป็นการบอกเวลาและสถานที่ การจัดแสงสามารถบอกให้ทราบถึงเวลาที่เกิดขึ้นในฉากนั้นๆได้ เช่นกลางวัน กลางคืน โดยการใช้ความแตกต่างในเรื่องความสว่างความมืดของแสง
6. การจัดแสงเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ การ จัดแสงสามารถสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น การใช้แสงที่ต่ำกว่าระดับสายตาของผู้แสดง ก็ยังสามารถสร้างอารมณ์ตื่นเต้น น่ากลัวได้เป็นต้น แต่การสร้างให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามจึงต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆเข้าช่วย เช่น เสียงดนตรี คำพูด และใบหน้านักแสดง
7. การจัดแสงเพื่อให้เกิดความสนใจเฉพาะจุด ใน การแสดงละครหรือการแสดงต่างๆนั้น อาจมีเวทีที่กว้างแต่ในช่วงเวลาหนึ่งของการแสดงเราอาจต้องการให้ผู้ชมสนใจ ณ ที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นจุดสำคัญของเรื่องหรือเป็นการแสดงของนักแสดงเด่น เราอาจจะใช้วิธีจัดแสง โดยให้มีแสงสว่างมากเฉพาะจุด หรืออาจจะใช้ไฟ ฟอลโลว์สปอตไลท์ส่องตามผู้แสดงก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น