หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบในการจัดฉาก


การจัดวางองค์ประกอบ (Composition) หมายถึง การจัดวางตำแหน่งขององค์ประกอบฉาก ต้องยึดหลักของความสมดุลและมีเอกภาพ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ มุมและตำแหน่งของกล้อง ดังนั้นผู้ออกแบบฉากจำเป็นต้องทราบถึงแผนการถ่ายทำของรายการและการวาง มีความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบ ด้วยเช่นกัน ตำแหน่งกล้องทั้งหมดเพื่อที่จะได้วางแผนจัดองค์ประกอบของฉากให้สามารถใช้งาน ได้ดีเหมือนกันหมดทุกมุม

เส้น  Line หมายถึง รูปร่างโดยส่วนรวมของฉาก รวมไปถึงมิติและการมองเห็นได้ด้วยตา(Perspective)
ดังนั้นรูปร่างของฉากควรสร้างความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(Unity) อีก ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ของรายการได้ ซึ่งฉากที่มีการจัดเหมือนจริง ก็จะใช้เส้นหรือฉากที่มีรูปร่างธรรมดา มีมุมมองธรรมดาเพื่อให้เกิดความสมจริง เช่น ห้องก็จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ของที่อยู่ใกล้มักจะใหญ่กว่าของที่อยู่ไกลเป็นต้น
เส้นสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทคือ
1.
เส้นแนวนอน (Vertical Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงตามแนวนอน จะให้เกิดความรู้สึกถึงความกว้าง และเรียบ
2.
เส้นแนวตั้ง (Horizontal Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงแนวดิ่งหรือแนวตั้ง จะให้เกิดความรู้สึกถึงความสูงแลความลึก
3.
เส้นแนวเฉียง (Perspective Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทำมุมเป็นมุมเฉียง จะให้เกิดความรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ การย้ำเน้น และความลึก
4.
เส้นที่ไม่ใช่เส้นตรง (Cycle Line)
หมายถึง เส้นที่มีลักษณะโค้ง ไม่เป็นเส้นตรง จะให้เกิดความรู้สึกถึงความอ่อนไหว ความสับสน ความโลเล ความงุนงง และการเคลื่อนไหว

พื้นผิวTexture หมายถึง การสร้างลักษณะทางกายภาพของพื้นผิว เช่น ผิวเรียบ ผิวขรุขระ ผิวมันวาว เป็นต้น สามารถแบ่งได้ 2 วิธีคือ
1.
การสร้างพื้นผิวที่มีมิติขึ้นมาจริง
2.
การระบายสีหรือการวาดเพื่อให้ดูเหมือนพื้นผิวแบบต่างๆ

สี (Color) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการออกแบบ เพราะสีจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความลึก มีมิติ สร้าง
ความ สมจริง ให้อารมณ์ และสร้างจุดเด่นให้กับฉาก ดังนั้นควรเลือกใช้สีในฉากต่างๆควรมีการกำหนดและใช้อย่างถูกต้องเพื่อ ประสิทธิภาพของงาน
ข้อควรระวังในการใช้สีเพื่อการออกแบบ
1.
ไม่ควรใช้สีขาวจัด หรือดำสนิท เพราะกล้องไม่สามารถทำงานกับความสว่างที่สูงมากๆหรือต่ำมากๆได้
2.
ไม่ ควรใช้สีอ่อนเกินไป เช่น ฟ้าอ่อน เหลืองอ่อน ชมพูอ่อน หรือการใช้สีที่เข้มเกินไปเช่น แดงเข้ม น้ำเงินเข้ม หรือน้ำตาลเข้ม เพราะสีที่อ่อนเกินไปเมื่อโดนแสงจะถูกดูดกลืนไปกับสีขาว ส่วนสีที่เข้มมากๆจะถูกดูดกลืนจากสีดำ
3.
ไม่ควรใช้สีสะท้อน เพราะทำให้การวัดแสงของกล้องวัดแสงอัตโนมัติไปที่สีสะท้อนตรงนั้น
4.
ควร ระวังเรื่องแสงสะท้อน เช่นถ้าโต๊ะเป็นสีเขียวหรือสีขาว เมื่อโดนแสงอาจสะท้อนโดนหน้านักแสดง หรือวัตถุอื่นๆในฉากให้เกิดการเปลี่ยนสีได้ ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องแสงสะท้อน ทางที่ดีควรใช้สีเป็นสีขาวหม่นหรือสีเทา
CHAPTER 7...EDITING
การตัดต่อ (Editing)
Electronic
- Control track Editing
- Automatic Time code Editing
- Computerize Time code Editing
หลักพื้นฐาน
- Continuity
- Complexity
- Ethic
  • Voice
- Voice over ( voice overlap )
- Voice off scene
  • Sequence - การลำดับ Sequence ตามความเหมาะสมของขนาดภาพ
- สูตร Picture Sequence
- Direction & Meaning
  • Position of shot
- Dynamic Cutting
- Narrative Cutting
- Montage Cutting
- Cross Cutting
- Parallel Cutting

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น